วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สรุปอินโนเวชัน

ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
สื่อ หมายถึงส่งที่เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับเพื่อให้ทั้งสองเข้าใจในสิ่งเดียวกัน
สื่อการเรียนการสอน เรียกสั้นๆว่า สื่อการสอน คือสิ่งใดก็ได้ที่บรรจุเนื้อหาที่เกี่ยวกับการสอนไม่ว่าจะเป็น วิทยุ โทรทัศน์ รูปภาพ หรืออื่นๆ ที่ทำผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนวางไว้ สื่อการสอน
                                    ประเภทของสื่อ
สื่อการสอน คือ ทุกสิ่งที่อยู่ในโลกเช่น หิน น้ำ            สิ่งมีชีวิตทั้งคน หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เมื่อมีหลายอย่างนักวิชาการหลายๆท่านได้จำแนกสื่อการสอนตามประเภท ลักษณ์และวิธีการใช้ ดังนี้
สื่อโสตทัศน์
เป็นจุดเริ่มต้นของสื่อการสอน โดยเป็นสื่อที่เกิดจากการเรียนรู้ด้วยเสียงและภาพเช่น หนังสือ ภาพ ฯลฯ  ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 3 ประเภท
  -สื่อไม่ใช่เครื่องฉายแบ่งย่อยได้ 3ประเภท
            -สื่อภาพ สื่อที่ถ่ายทอดเนื้อหาด้วยตนเอง เช่น กราฟ แผนภูมิ แผนที่ เป็นต้น
            -กระดานสาธิตเป็นการนำเสนอเนื้อหา เช่น กระดานชอล์ก กระดานแม่เหล็ก
            -กิจกรรม เป็นเทคนิควิธีการเพื่อการเรียนรู้ เช่น การศึกษานอกสถานที่
           -สื่อใช้เครื่องฉายเป็นวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ทั้งภาพแล้วเสียงในการสื่อ เช่น เครื่องเล่นวีดีโอ เครื่องLCD เป็นต้น
          -สื่อเสียง วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เสียงในการสอน


           
            สื่อแบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้ โดยแบ่งได้ดังนี้
             -ประสบการณ์ตรง โดยให้ผู้เรียนได้ทำได้จับได้สัมผัสของจริง เช่น การบอกว่ามะนาวมีรสเปรี้ยว หลักจากนั้นการให้ลองชิมเพื่อให้ได้รับรสว่าเป็นเช่นไร
             -ประสบการณ์รอง โดยเรียนจากสิ่งที่ใกล้กับความจริงที่สุด เช่น สื่อที่มีชีวิตที่ไม่สามารถผ่าออกมาได้ก็จำลองขึ้นมา
              -ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เช่น การสมบทบาทเป็นตัวละคร ผู้เรียนต้องศึกษาข้อมูลของตัวละครมาก่อนถึงจะ แสดงได้ดีขึ้น
             - การสาธิต การกระทำประกอบคำอธิบายเพื่อให้นึกถึงสิ่งที่สอนหรือลำดับในการกระทำ
             - การศึกษานอกสถานที่ การพาผู้เรียนไปยังนอกห้อง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนหลายๆด้าน
             - นิทรรศการ การจัดแสดงสิ่งต่างๆ เพื่อให้ประสบการเรียนรู้แก่ผู้เรียนหลายด้าน
             - ภาพยนตร์และโทรทัศน์ เรียนด้วยภาพ เสียง และเรื่องราวต่างๆ
อย่างไรก็ตามมิได้แบ่งลำดับความยากง่าย แต่เป็นลำดับของประสบการณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกัน
           

คุณค่าของสื่อการสอน
สื่อการสอนนับเป็นสื่อสำคัญในการเรียนรู้เพราะเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาจากผู้สอนไปยังผู้เรียนหรือให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง สื่อการสอนจึงนำมาใช้ประโยชน์ได้ทังผู้เรียนและผู้สอน
สื่อกับผู้เรียนมีความสำคัญต่อผู้เรียนดังนี้
-                   เป็นสิ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายในเวลาอันสั้น
-                   ช่วยกระตุ้นและสร้างความเข้าใจให้กับผู้เรียนทำให้เกิดความสนุกสนาน
-                   การใช้สื่อทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกัน
สื่อกับผู้สอน
-                   การใช้อุปกรณ์ประกอบการสอนช่วยให้บรรยากาศน่าสนใจยิงขึ้น
-                   ช่วยแบ่งภาระในการสอนในด้านเตรียมเนื้อหาเพราะสามารถใช้สื่อซ้ำได้
-                   เพื่อกระตุ้นให้ผู้สอนเตรียมเรื่องราวใหม่ๆเพื่อการสอน ตลอดจนคิดเทคนิคในการเรียนให้น่าสนใจยิ่งขึ้น


ขั้นตอนในการใช้สื่อการสอน
-                   ขั้นนำสู่บทเรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กำลังจะเรียน ใช้สื่อที่แสดงเนื้อหากว้างๆมิใช่เนื้อหาเจาะลึก เพื่อให้ผู้เรียนคิด
-                   ขั้นดำเนินการสอน จะให้ความรู้เนื้อหาอย่างละเอียดเพื่อวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้สอนควรเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหา ต้องจัดลำดับขั้นให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน
-                   ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียน ได้ทดลองนำความรู้ที่เรียนมาแก้ปัญหาในขั้นการลงมือ
-                   ขั้นสรุปบทเรียน เน้นย้ำเนื้อหาให้มีความเข้าใจที่ตรงตามวัตถุประสงค์
-                   ขั้นประเมินผลการเรียน เป็นขั้นทดสอบว่าผู้เรียนข้าใจมากน้อยเพียงใด และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่







หลักการออกแบบ
1.ความกลมกลืน ช่วยให้รูปแบบมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตลอดจนเนื้อหาสาระมีเพียงหนึ่งเดียว
2.สัดส่วน เป็นความสัมพันธ์ของขนาดและพื้นที่ 
3.ความสมดุล ให้ความเท่ากันทั้งสองด้าน มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยจะออกแบบให้สมดุลต้องอาศัย รูปร่าง ขนาน เส้น มวล ทิศทาง สี เป็นต้น
4.จังหวะและเคลื่อนไหว เป็นการออกแบบซ้ำๆกัน ออกแบบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
5.การเน้นการสร้างจุดเด่นเพื่อดึงดูดใจ ทำได้หลายวิธี เช่น การใช้สี เส้น ขนาด รูปร่าง
6.เอกภาพ เป็นใจความหลักหรือจุดสนใจเพียงจุดเดียว การขาดเอกภาพทำให้ขาดการจูงใจ
7.การตัดกัน เพื่อให้ผลงานมีความเด่นชัด เช่นการใช้สี หรือจังหวะเพลงที่เร้าใจ
องค์ประกอบการออกแบบ
1.จุด POINT เป็นส่วนที่เล็กที่สุด เป็นพื้นฐานและสิ่งที่สำคัญ เมื่อนำมาวางในตำแหน่งที่เหมาะสมจะทำให้เกิดรูปร่าง
          การนำจุดมาใช้ในการออกแบบทำได้หลายวิธี
1.1 การนำจุดมาวางเรียงกันในลักษณะที่ซ้ำๆกัน
1.2 การนำจุดมาวางให้มีความสมดุลทั้งสองข้างไม่เท่ากัน
1.3 การนําจุดมาวางให้เกิดลวดลายต่างๆ
           

2.เส้น  Line  เส้นเป็นสิ่งที่เชื่อมระหว่างจุด  2 จุด เส้นทุกเส้น มีความหมาย และสามารถแสดงอารมณ์ในตัวเอง เช่น
            เส้นตรงแนวตั้ง  แสดงถึงความสง่างาม มั่นคง ชีวิต การต้านทาน
            เส้นตรงแนวนอน แสดงถึงความนิ่ง สงบ เสนขอบฟ้า
            เส้นทแยง แสดงถึงอันตราย การเคลื่อนไหว  อารมณ์
            3.รูปร่าง
            -รูปร่างมีลักษณะสองมิติ ไม่มีปริมาตรหรือมวล เช่น รูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม  รูปสามเหลี่ยม ซึ่งจะมองเห็นแต่ด้านกว้างยาว
-รูปทรงมีลักษณะสามมิติ  มีปริมาตรและมวล เรียกว่า รูปทรงเรขาคณิต เช่น ทรงสี่เหลี่ยม ทรงกลม ทรงผืนผ้า
4.ปริมาตร เป็นสิ่งที่มีลักษณะสามมิติ มีด้านกว้าง ยาวและสูงหรือหนา
5.ลักษณ์พื้นผิว ลักษณะของพื้นผิวมีอิทธิพลต่ออารมณ์และความรูสึก ทั้งในแง  -, +
เช่น ถ้าลักษณะพื้นผิวหยาบ จะให้ความรู้สึกน่ากลัว หยาบ น่าขยะแขยง
 

วิธีระบบ ( System Approach)
ระบบ คือ ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงการหรือขบวนการนั้น
การรวมสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมายที่มนุษย์ได้ออกแบบและสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อดำเนินงานทั้งหลายให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้



ลักษณ์ของระบบที่ดี 
ระบบที่ดีต้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ( efficiency)  และมีความยั่งยืน(sustainable) ต้องมีลักษณะ 4 ประการคือ
1. มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ( interact with environment )
2. มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ ( purpose)
3. มีการรักษาสภาพตนเอง (self-regulation)
4. มีการแก้ไขตนเอง ( self-correction 

องค์ประกอบของระบบ
        1. สิ่งที่ป้อนเข้าไป ( Input หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหรือโครงการต่าง ๆ เช่น  ครู นักเรียน ชั้นเรียน หลักสูตร ตารางสอน วิธีการสอน เป็นต้น
       2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน (Process) หมายถึง การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไปมาจัดกระทำ เพื่อให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ  เช่น การสอนของครู การให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น
        3. ผลผลิตหรือการประเมินผล (Output) หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ผลงานของนักเรียน เป็นต้น
        4. การวิเคราะห์ระบบ เป็นวิธีการนำเอาผลที่ ได้ ซึ่งเรียกว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back)จาก
ผลผลิตหรือการประเมินผลมาพิจารณาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 



ลักษณะสำคัญของวิธีระบบ 
      1. เป็นการทำงานร่วมกันเป็นคณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบนั้น ๆ 
      2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ 
      3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม 
      4. เป็นการแก้ปัญหาใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อสะดวกในการแก้ปัญหาอันจะเป็นผลให้แก้ปัญหาใหญ่ได้สำเร็จ 
      5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง 
      6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้และเป็นปัญหาเร่งด่วนก่อน

ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ 
         1. ปัญหา (Identify Problem) คือ การศึกษาวิเคราะห์ปัญหาที่แท้จริงในการปฏิบัติว่าคืออะไร หาความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ควรจะเป็นกับสิ่งที่มีอยู่ แล้วมาจัดลำดับและกำหนดระดับความสำคัญของปัญหา 
      2.จุดมุ่งหมาย (Objectives) การระบุจุดมุ่งหมายจะต้องชัดเจน สามารถวัดได้ และสอดคล้องกับปัญหา 
      3. ศึกษาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraints) เป็นการศึกษาและทำรายการข้อจำกัดเกี่ยวกับทรัพยากร (Resources) ที่มีอยู่ 
      4. ทางเลือก (Alternatives) คือ การสร้างทางเลือกสำหรับใช้ในการแก้ปัญหา 
      5. การพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม (Selection) เป็นการประเมินหาทางเลือกที่จะส่งผลต่อจุดมุ่งหมายที่ต้องการมากที่สุด และด้วยทุนที่น้อยที่สุด 
      6. การทดลองปฏิบัติ (Implementation) เป็นการนำเอาทางเลือกที่ได้ไปทดลองเพื่อดูว่าสามารถนำไปปฏิบัติได้หรือไม่